


การป้องกันอุบัติเหตุ
การป้องกันอุบัติเหตุ มีหลักการหรือวิธีโดยแบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์คือ
1. การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือการป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น
1.1 หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น
1.1.1 สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย-ใช้-ไม่ใช้
1.1.2 สะสวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
1.1.3 สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน
1.1.4 สุขลักษณะ หมายถึงผู้ปฏิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
1.1.5 สร้างนิสัย หมายถึงการสร้างนิสัยที่ดี
1.2 กฎ 5 รู้
1.2.1 รู้ งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร
1.2.2 รู้ การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
1.2.3 รู้ วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
1.2.4 รู้ ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
1.2.5 รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
1.3 ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ
2. การป้องกันขณะเกิดอุบติเหตุ หมายถึงการเตรียมตัวล่วงหน้า เป็นการลดอันตรายให้น้อยลงหรือไม่เกิดอันตรายเลย มีหลักการดังนี้
2.1 การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอวัยวะของร่างกาย ดังนี้
2.1.1 หมวกนิรภัย
2.1.2 อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า ดวงตา
2.1.3 อุปกรณ์ดลเสียง ป้องกันหู
2.1.4 อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
2.1.5 อุปกรณ์ป้องกันร่างหาย แขนขา
2.1.6 อุปกรณ์ป้องกันมือ
2.1.7 อุปกรณ์ป้องกันเท้า
2.2 การปฏิบัติงานโดยใช้การ์ดเครื่องจักร
2.2.1 การ์ดเครื่องกลึง
2.2.2 การ์ดเครื่องเจียระไน
2.2.3 การ์ดปิดส่วนที่หมุนของเครื่องจักร เช่น ฟันเฟือง
3. การป้องกันหลังการเกิดอุบัติเหตุ คือการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนขึ้น หรือมีการลดอันตรายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3.1 การอพยพ การขนย้าย หลังการเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะมีการตกใจ ตื่นกลัว ดังนั้นควรมีการวางแผนการอพยพ หรือการขนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
3.2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดอันตรายให้น้อยลง เช่น การห้ามเลือด การผายปอด
3.3 การสำรวจความเสียหายหลังการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ผู้บาดเจ็บ สถานที่